นิทานกับเด็ก

18:15

ส่งต่อข้อมูลดีๆ จากกิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่  ในหัวข้อ "นิทานกับเด็ก" ขอขอบคุณเนื้อหาทั้งหมด จากวิทยากร คุณครูก้า โรงเรียนจิตตเมตต์ค่ะ ^____^

ผู้ใหญ่มักเลือกนิทานจากเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งเนื้อหาของหนังสือนิทานไม่ใช่สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึง หากเด็กๆ ต้องการที่จะเลือกหนังสือเอง เราควรปล่อยให้พวกเขาตัดสินใจเอง มิเช่นนั้น เมื่อพวกเขาโตขึ้น อาจจะไม่มั่นใจในการเลือกใช้ชีวิตเลยก็ได้ (ตัวอย่างคือ โตมา ตัดสินใจไม่ได้ว่า จะเลือกเรียนอะไร อยากทำอาชีพอะไร เป็นต้น)


สิ่งที่สำคัญของนิทานกับเด็กๆ คือ พลัง ความรู้สึกที่อบอุ่น ที่ส่งผ่านจากพ่อแม่สู่เด็กๆ มากกว่า อย่างเด็กในวัยเนอสเซอรี่ อาจจะเป็นนิทานเรื่อง “กอด” ที่แสดงถึงการกอด ความห่วงใย ของแม่และพ่อ

แนะนำหนังสือเรื่อง "ถ้วยฟูโกรธแล้วนะ” เนื้อเรื่องพูดถึงอารมณ์โกรธเป็นเรื่องปกติ เด็กโกรธได้ ผู้ใหญ่ก็โกรธได้ สามารถยอมรับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้น จนแนะนำเรื่องการจัดการกับอารมณ์โกรธของตนเอง แบบแฝงเรื่องศีลธรรมนิดๆ ให้เด็กๆ ได้คิดตาม


หนังสือเรื่อง “France Dean” เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กที่ไม่มั่นใจในตัวเอง และไม่กล้าแสดงออก จนครั้งหนึ่ง ตัวเอกของเรื่องต้องไปคุยกับนก (เนื้อเรื่องนี้ ยังไม่ได้อ่านเองนะคะ จำมาจากครูก้าเล่าค่ะ) เพราะผู้ใหญ่ชอบคิดเสมอว่า การกล้าแสดงออกของเด็กๆ ต้องเป็นการแสดงบน “เวที” เท่านั้น ซึ่งมันไม่จริงเลย ^___^

บางครั้งผู้ใหญ่ก็มักจะมองข้ามความสามารถของเด็กๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ในสายตาเรา แต่ก็อาจจะเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพวกเขาก็ได้ แนะนำหนังสือ “I can do it!” ค่ะ
หนังสือสำหรับเด็กเล็กๆ บางครั้งเนื้อหา คำพูด อาจจะไม่จำเป็นเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น หนังสือเรื่อง “Welcome to the Zoo” เป็นหนังสือที่มีรูปภาพอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยตัวละครมากมาย พร้อมทั้งหลากหลายสัตว์ในสวนสัตว์ ผู้ใหญ่อาจจะให้เด็กๆ สมมุติเป็นตัวละครใดตัวหนึ่ง แล้วให้พวกเขาต่อยอดเล่าเรื่องราวเอง โดยการถามคำถามนำเชิงเปิด เช่น “เราจะเป็นใครในรูปนี้ดีน้า” “ตัวละครที่เราเป็น กำลังทำอะไรอยู่ในภาพน้า” “แล้วเราจะเดินไปดูสัตว์อะไรต่อดี” สิ่งที่ไม่ควรทำ คือการชี้นำคำตอบแบบปิด เช่น “ต้องเป็นอย่างนี้แน่ๆ เลย”... เด็กๆ จะโชว์ความสามารถพิเศษจากการสังเกตุ จดจำรูปภาพให้ผู้ใหญ่ได้ตะลึงเชียวล่ะค่ะ


หนังสือดีๆ บางเล่ม อาจจะมีแค่รูปๆ เดียว แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถนำเอาท่าทาสุ้มเสียงมาชวนเด็กๆ เล่นได้ เช่น รูปรถไฟ+เสียงรถไฟ รูปเครื่องบิน+เสียงเครื่องบิน+ท่าท่าร่อนเครื่องบินบ่นอากาศ เพราะสุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุด สุขที่สุดของการเล่านิทาน คือการได้ใช้เวลาเล่นกับพวกเขามากกว่าค่ะ
หนังสือที่แทรกให้รู้จัก “การให้” เป็นหนังสือจากภาษาญี่ปุ่นเรื่อง “The Giving Chair” เนื้อเรื่องว่าด้วยเจ้ากระต่ายตัวหนึ่งทำเก้าอี้ไม้ขึ้นมา 1 ตัว นำไปวางไว้ที่ใต้ต้นไม้ พร้อมกับปักป้ายข้างๆ ว่า “Help yourself” แล้วก็เดินจากไป...

ต่อมาไม่นาน มีเจ้าลาตัวหนึ่งแบกตะกร้าลูกวอลนัทมาเต็มหลังด้วยอาการเหนื่อยอ่อน ผ่านมาเห็นเก้าอี้ไม้ ก็เลยวางตะกร้าไว้บนเก้าอี้ จากนั้น ก็พล่อยหลับไปที่ใต้ต้นไม้ข้างๆ กัน...
ไม่นานนักก็มีเจ้าหมีตัวใหญ่ ถือโถน้ำผึ้งผ่านมา พอมองเห็นป้าย “Help yourself” เลยได้ที กินลูกวอลนัทจนหมด แต่ก่อนจะเดินจากไป เจ้าหมีนึกขึ้นได้ “หากเราทิ้งตะกร้าเปล่าๆ ไว้ คนที่เดินผ่านมาทีหลัง คงรู้สึกไม่ดีแน่ๆ เจ้าหมีนึกได้ดังนั้น จึงวางโถน้ำผึ้งของตนเองในตะกร้าแทน...
ต่อมาอีกสักพัก เจ้าหมาจิ้งจอกก็เดินผ่านมา พร้อมกับขนมปังหอมๆ หวานๆ ในมือ พอเจ้าจิ้งจอกเห็นป้าย “Help yourself” เท่านั้นแหละ น้ำผึ้งในโถก็หมดไปในพริบตา แต่ก่อนที่เจ้าจิ้งจอกจะเดินจากไป เขาก็คิดขึ้นมาว่า “หากเราทิ้งตะกร้าเปล่าๆ ไว้ คนที่เดินต่อมาก็คงจะเสียใจ” เขาจึงวางขนมปังลงในตะกร้าแทน...

ไม่นานนัก ฝูงกระรอกก็เดินผ่านมาที่เก้าอี้ไม้พร้อมกับลูกวอลนัทในมือตัวละลูกสองลูก เมื่อเห็นขนมปังหอมๆ วางอยู่ข้างป้าย “Help yourself” จึงนึกดีใจ แบ่งขนมปังกันกินอย่างเอร็ดอร่อย... และเช่นเคย พวกกระรอกได้วางลูกวอลนัทมากมายไว้จนล้นตะกร้า เพื่อเผื่อแผ่ให้กับคนที่เดินผ่านมาทีหลัง...
และอีกไม่นาน เจ้าลาน้อยก็ตื่นขึ้น กลับมาดูที่ตะกร้าตัวเอง นึกตกใจว่า “เอ้... ทำไมลูกวอลนัท ถึงมีมากขึ้นอย่างนี้น้าาาา” ^____^

เรื่องนี้สอนให้เด็กๆ รู้จักการให้ และเอาใจเขามาใส่ใจเราค่ะ ภาพในหนังสือน่ารักมากๆ ค่ะ ควรค่าแก่การเป็นเจ้าของ (ความรู้สึกชอบเป็นการส่วนตัว)


เล่มต่อไป “Happy Hector” หนังสือเรื่องราวความสุขเล็กๆ ของเจ้าหมู Hector และพ้องเพื่อน ที่สื่อออกมาว่า ความสุขของทุกคนย่อมไม่เหมือนกัน แต่เมื่อใครคนใด คนหนึ่งไม่มีความสุข เพื่อนๆ รอบๆ ตัว ก็พร้อมจะหยิบยื่นความสุข ความห่วงใยในแบบของตนให้แก่คนๆ นั้นเสมอ... เรื่องนี้ ผู้ใหญ่สามารถนำมาตั้งคำถามกับเด็กๆ ได้ว่า ความสุขของเด็กๆ มีอะไรกันบ้าง และนำสู่คำถามต่อ หากเพื่อนของเราเศร้า ไม่มีความสุข พวกเราจะช่วยพวกเขาอย่างไรดี... เชื่อว่า เด็กๆ อาจจะพูดเล่าความสุขของพวกเขาให้เราได้ยิ้มตามๆ กันแน่นอนค่ะ
หนังสือตลกบางเล่มทำให้เด็กหัวเราะในการกระทำที่เกินจริงในนิทาน แต่เชื่อเถอะค่ะ ว่าพวกเขารู้ ว่ามันเป็นไปไม่ได้จึงส่งเสียงความสุขนั้นออกมา ลองอ่าน “คุณช้างไป เดินเล่น” หรือ “The Black Ribbit” ดูนะคะ



ปล.หนังสือบางเล่ม หารูป ไม่ได้ ถ้ามีโอกาสจะหามารีวิวให้ นะค่ะ ^_^

cr. รูปภาพ จาก google

You Might Also Like

0 comments

Like us on Facebook

Follow Me On Instagram